สถิติ
เปิดเมื่อ11/06/2012
อัพเดท1/11/2012
ผู้เข้าชม5701
แสดงหน้า6346
สินค้า
บทความ
บทความทั่วไป
ประวัติส่วนตัว
My profile
คำอธิบายรายวิชา ง 30290 การประชาสัมพันธ์
คำอธิบาย
บทที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
บทที่1
บทที่ 2 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
บทที่2
บทที่ 3 เรื่อง หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
บทที่3
บทที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
บทที่4
บทที่ 5 เรื่องขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 5
บทที่ 6 เรื่อง หน่วยงานประชาสัมพันธ์
บทที่6
บทที่ 7 เรื่อง สื่อการประชาสัมพันธ์
บทที่ 7
บทที่ 8 การประเมินผลการประชาสัมพันธ์
บทที่ 8
บทที่ 9 เรื่องคุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
บทที่ 9
บทที่ 10 เรื่อง ศึกษาดูงาน/ ฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 10
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




บทที่6

อ่าน 156 | ตอบ 0
สาระที่  4  การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ  มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด  ข้อที่ 1  อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
 
หน่วยการเรียนรู้ที่    6   เรื่อง  หน่วยงานประชาสัมพันธ์                                                     
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย  ๆ  ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้  มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
 
จุดประสงค์การเรียนรู้
             ด้านความรู้ (K)  เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.   อธิบายลักษณะและหน้าที่ของหน่วยงานประชาสัมพันธ์ได้
2.   บอกขอบเขตและหน้าที่ของกรมประชาสัมพันธ์ได้
3.   บอกการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลและเอกชนได้
                       
               ด้านเจตคติ  ด้านคุณธรรม  จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์   เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.    มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
2.    มีคุณธรรมรักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    
3.     มีทักษะในการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
             ด้านทักษะ และขบวนการ ( P )  เพื่อให้นักเรียนสามารถ  
1.    ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
             สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
           มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.   ความสามารถในการสื่อสาร  
2.   ความสามารถในการคิด
3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   
5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


หน่วยงานประชาสัมพันธ์


 


          กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลไทย ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกัน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่โน้มน้าวชักจูงประชาชน ให้ร่วมมือกับรัฐบาล และหน่วยงานราชการ

ประวัติ
                 กรมประชาสัมพันธ์ มีวิวัฒนาการมาจาก “กองโฆษณาการ” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ต่อมาพัฒนาเป็น “สำนักงานโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน พัฒนาขึ้นเป็น “กรมโฆษณาการ” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 และพัฒนามาเป็น “กรมประชาสัมพันธ์” ดังเช่นปัจจุบัน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495

ตราสัญลักษณ์
          ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 7 เล่มที่ 64 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2490 กำหนดเครื่องหมายราชการ 'กรมโฆษณาการ' ให้เป็นรูปพระอินทร์เป่าสังข์ เหาะลอยอยู่เหนือเมฆ มีวงกลมล้อมรอบ โดยอิงตามคติในวรรณคดีโบราณว่า พระอินทร์มีหน้าที่เป่าสังข์ชื่อ 'ปาญจนันท์' ปลุกพระนารายณ์ให้ตื่นจากบรรทมสินธุ์ในสะดือทะเล เพื่อขึ้นมาปราบเหตุร้ายต่างๆ ในโลก และโดยความเชื่อในศาสนาฮินดู สังข์ถือเป็นมงคลสามประการคือ ถือกำเนิดจากพระพรหม ท้องสังข์เคยเป็นที่ซ่อนคัมภีร์พระเวท และตัวสังข์มีรอยนิ้วพระหัตถ์ของพระนารายณ์ ในพิธีทางศาสนาพราหมณ์ จึงมีการเป่าสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย สอดคล้องกับหลักการประชาสัมพันธ์ ที่เป็นการเผยแพร่ชี้แจงประชาชนให้เข้าใจอย่างกว้างขวาง และสร้างความเข้าใจอันดี จึงเปรียบได้กับการเป่าสังข์เพื่อเรียกประชุมของเทวดา ตราสัญลักษณ์นี้ใช้สีม่วงเป็นสีหลักของตรา ซึ่งเป็นสีของงานประชาสัมพันธ์ และใช้มาจนกระทั่งเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน
 


ขอขอบคุณ:http://th.wikipedia.org/wiki/


ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :