สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด ข้อที่ 1 อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย ๆ ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. บอกความหมายและวัตถุประสงค์ของการโฆษณาได้
2. อธิบายความแตกต่างระหว่างการประชาสัมพันธ์กับการโฆษณาได้
3. บอกขั้นตอนและสื่อที่ใช้โฆษณาได้
4. อธิบายความหมายสื่อและเครื่องมือที่ใช้โฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ได้
ด้านเจตคติ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ( A ) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
2. มีคุณธรรมรักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ
3. มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
4. มีคุณธรรม เรื่องเวสารัชชกรณธรรมรับผิดชอบขยันซื่อสัตย์อดทนอดออม มุ่งมั่น) ด้านทักษะ และขบวนการ ( P ) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ความหมายของการโฆษณา
การโฆษณามาจากภาษาอังกฤษว่า Advertising มีรากศัพท์จากภาษาลาติน หมายถึง การหันเหจิตใจ ต้นศัพท์ของ
การโฆษณา มาจากภาษา สันสกฤตว่า “โฆษ” แปลว่ากึกก้อง
การโฆษณา หมายถึง การสร้างความสนใจไม่ว่าวิธีใดก็ตาม เพื่อจูงใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายวัตถุประสงค์หลักของการโฆษณาได้
2. อธิบายวัตถุประสงค์ทั่วไปของการโฆษณาได้
3. บอกประโยชน์ของวัตถุประสงค์การโฆษณาได้

“การโฆษณา” และ “การประชาสัมพันธ์” ต่างมีความสำคัญต่อองค์กร มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและทัศนคติของสังคมและมวลชนเป็นอันมาก ซึ่งคนนิยมใช้คำทั้งสองคำนี้เป็น คำเดียวกันว่า “การโฆษณาประชาสัมพันธ์” แท้จริงแล้วทั้งสองคำมีความหมายที่แตกต่างกัน
การประชาสัมพันธ์ มีความหมายที่กว้างกว่า เน้นเรื่องการติดต่อสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพพจน์ขององค์กร โดยการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลความรู้และความคิดเห็น เป็นการจูงใจให้บุคคลให้การสนับสนุนองค์กร
ส่วน การโฆษณา เป็นเรื่องของธุรกิจการขายโดยเฉพาะ ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องการขายสินค้าเป็นสำคัญ เป็นการกระตุ้นการขาย สร้างบรรยากาศของการดำเนินการธุรกิจการขาย เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร บุคคล สินค้า ให้เป็นที่รู้จักและเป็นลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ขององค์กร เพื่อให้เกิดผลกำไรมากที่สุด
ความแตกต่างระหว่างการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
|
การโฆษณา
|
การประชาสัมพันธ์
|
-
การโฆษณามีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ “ผลกำไร”
-
การโฆษณาโดยส่วนใหญ่หวังให้เกิดผลใน
ช่วงระยะเวลาสั้นๆ
-
การโฆษณาเป็นการจูงใจเพื่อให้ขายสินค้าและบริการได้
-
การโฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างมาก
-
การโฆษณาเป็นการสื่อสารทางเดียว
-
การโฆษณาต้องซื้อสื่อเพื่อเผยแพร่งานโฆษณา เช่น การซื้อเวลาในรายการของสื่อโทรทัศน์ หรือการซื้อพื้นที่ในหน้าหนังสือพิมพ์
|
-
การประชาสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นมากกว่าผลกำไร
-
การประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่หวังผลสำเร็จในระยะยาว เพราะเป็นการสร้าง ทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นการประชาสัมพันธ์เป็นการจูงใจเพื่อ
สร้างภาพพจน์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กร
-
การประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่อาศัยความร่วมมือ
จึงเสียค่าใช้จ่ายน้อย
-
การประชาสัมพันธ์เน้นการสื่อสารสองทาง การประชาสัมพันธ์ไม่ต้องซื้อสื่อโดยตรง
-
แต่มีค่าใช้จ่ายทางอ้อมในลักษณะของการเป็น
ผู้สนับสนุนรายการ เช่น เสื้อผ้าพิธีกรการสนับสนุนสถานที่ดำเนินการ
|
ขอขอบคุณ:http://region3.prd.go.th/phrae/data/pr3.html
|